คณิตศาสตร์พื้นฐานประจำบ้าน http://basicmath.siam2web.com/

ตัวอย่างเนื้อหา 

พื้นฐานที่สำคัญ

                                               ก่อนอื่นเราต้องเริ่มต้นเรียนรู้หลักพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่สำคัญๆในบทที่1นี้กันก่อนที่จะเริ่มทำความเข้าใจในบทต่อๆไป

                           หลักพื้นฐานที่สำคัญ  ได้แก่    ลำดับการคูณหารบวกลบ  วงเล็บ  ตัวเลขและตัวแปร การบวกลบตัวแปร การคูณหารตัวแปร และ

                           การคูณหารตัวเลขหรือตัวแปรที่มีค่าเป็นติดลบ  ตลอดจนคุณสมบัติต่างๆที่สำคัญ  เป็นต้น

การบวกลบตัวแปร 

   ตัวแปรสามารถบวกลบได้ดังนี้ 

                            a + a        =     2a   = 2× a 

                a + a + a   =     3a   = 3× a 

  a – a         =     0

a - a -b+b+b =     b

การคูณหารตัวแปร 

             ตัวแปรสามารถคูณหารกัน ได้ดังนี้ 

                                    a×a           = 

                        a×a×a       = 

  ในการกระจายให้ระวังเครื่องหมายด้วย    เครื่องหมายเหมือนกันคูณหรือหารกันได้บวก   เครื่องหมายต่างกันคูณหรือหารกันได้ลบ

        -2(7-3+1) = -14+6-2    ( กระจาย-2คูณเข้าในวงเล็บทีละตัว ได้ 

                = -10                              -14, +6, -2) 

            -2(7-3+1) = -2(5)        ( ในกรณีทำในวงเล็บก่อน ไม่กระจาย) 

           =  -10               ( ได้ผลเท่ากันคือ -10 ) 

        " ถ้ามีตัวแปรก็ไม่ยากทำไปตามปกติ   คูณได้คูณ   คูณไม่ได้ติดตัวแปรไว้ก่อน "

ดอกเบี้ย 

        ในการคิดดอกเบี้ยนั้นต้องใช้วิธีคิดของเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละเข้ามาช่วยคำนวณ  การคิดดอกเบี้ยที่ใช้กันมีหลายแบบ ได้แก่

แบบธรรมดาไม่ทบต้นทบดอก  แบบทบต้นทบดอก แบบที่ใช้ในการผ่อนบ้าน ผ่อนรถ  ผ่อนที่ดิน  แบบในการจำนำ จำนอง

หรือแม้กระทั่งแบบเงินฝากออมทรัพย์  ฝากประจำ  บัญชีกระแสรายวันแบบวงเงินเบิกเกินบัญชีหรือ

โอดี (O.D. ย่อมาจาก Over  Draft )  เป็นต้น  ซึ่งสามารถอธิบายวิธีคิดดอกเบี้ยในแต่ละแบบได้ดังนี้ 

การคิดดอกเบี้ยของธนาคาร 

       การคิดดอกเบี้ยของธนาคารนั้น ไม่ว่าจะเป็นบัญชีประเภทใดก็ตาม ทางธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวันไป

พูดง่ายๆก็คือคิดดอกเบี้ยทุกๆวันในทุกๆบัญชี แต่ในอัตราที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของบัญชี 

 และอีกอย่างหนึ่งคือรอบหรือระยะเวลาที่คิดดอกเบี้ยก็ต่างกันด้วย  เช่น คิดดอกทุกๆสิ้นเดือน  ทุกๆ3เดือน ทุกๆ6เดือน หรือทุกสิ้นปี เป็นต้น

ตัวอย่างการคิดดอกเบี้ยแบบต่างๆ 

การเปลี่ยนหน่วยความดัน(แรงดัน) 

1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (lb/in.²)หรือ(psi) = 0.07030696 กิโลกรัมต่อตาราง-เซนติเมตร (kg/cm²) 

1กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (kg/cm²) = 14.22334 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว-(lb/in.²)หรือ(psi) 

1บรรยากาศ (atmosphere)                   = 14.69595  ปอนด์ต่อตารางนิ้ว 

1บาร์(bar)                                                   = 14.50377 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว 

1บาร์(bar)                                        = 100000 ปาสคาล (Pa)  

1ปาสคาล (Pa)                            =  1 นิวตันต่อตารางเมตร(N/m²) 

การเปลี่ยนหน่วยปริมาตร 

               1 ลิตร                                  =   1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร(cc) (cm³) 

           1 มิลลิลิตร(ml)                   =   1 ลูกบาศก์เซนติเมตร(cc) (cm³) 

                 1 ลูกบาศก์นิ้ว                         =     16.38706  ลูกบาศก์เซนติเมตร 

                 1 ลูกบาศก์ฟุต                      =     0.02831685 ลูกบาศก์เมตร 

           1 ลูกบาศก์หลา                        =   0.7645549     ลูกบาศก์เมตร

           1 ควอตซ์                     =  1.1365225   ลิตร

                 1 แกลลอนUK       =  4.546092    ลิตร

                 1 แกลลอนUS          =  3.785412      ลิตร

           1 ออนซ์   UK                =  28.41307   มิลลิลิตร(ml)

                 1 ออนซ์   US                 =  29.57353  มิลลิลิตร(ml)  

                 1 ช้อนชา                                   =  4.9289          มิลลิลิตร(ml)

                 1 ช้อนโต๊ะ                                 =  14.78676  มิลลิลิตร(ml)

                 1 ถ้วย (cup)                            =  236.5882  มิลลิลิตร(ml)

 

ตัวอย่างที่3

    จงหาค่าของ  (2a – 3)(a + 4)

วิธีทำ

จะได้ผลคูณ (2a – 3)(a + 4)  น+ก+ห

(หน้าคูณหน้าเป็นหน้า)       =  2a X a =     2a²

(หลังคูณหลังเป็นหลัง)        =  (-3)  x 4 =  -12 

(หน้าคูณหลัง + หลังคูณหน้าเป็นกลาง)  = (2a x 4) + ((-3) x a)

                                            =      8a    - 3a

                                            =            5a

 น+ก+ห =  2a²+5a-12

ตอบ               (2a – 3)(a + 4)     =  2a²+5a-12  

(หมายเหตุ   ในตัวอย่างนี้สามารถใช้การตั้งคูณแบบธรรมดาได้เช่นกัน)

 

(gallery) 201141_86152.jpg

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 17,641 Today: 3 PageView/Month: 10

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...